วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 5 ในการเข้าชั้นเรียน


กิจกรรมในวันนี้
  •  จับคู่ 2 คน    นำเสนอขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์  หน้าชั้นเรียน
    • คู่ของข้าพเจ้าได้หัวข้อที่ 7 
       เป็นเรื่องของหน่วย  สัตว์ 
       1.   การนับ   
            นับสัตว์ในสวนสัตว์
       2.   ตัวเลข    
            เป็นตัวกำกับจำนวนจากมาก ไปหาน้อย     
       3.   จับคู่      
             ตัวเลขกับตัวเลข  และ  รูปทรง
       4.   จัดประเภท   
             แยกประเภทของสัตว์  คือ  สัตว์บก  กับ สัตว์น้ำ
       5.   เปรียบเทียบ   
             สัตว์บก  กับ สัตว์น้ำ  สัตว์ชนิดใดมากกว่า  ,  น้อยกว่า
       6.   จัดลำดับ  
              หาค่า ,   จับคู่  1:1  (เด็กยังไม่มีประสบการณ์ด้านตัวเลขมากพอ)  
       7.   รูปทรง  
             การสร้างกรงให้ช้างเป็นรูปสี่เหลี่ยม  
       8.   การวัด 
             วัดพื้นที่ที่สัตว์อยู่   
       9.   เซต     
             สัตว์บกกินเนื้อมีสัตว์อะไรบ้าง ส่วนสัตว์บกกินพืชมีสัตว์อะไรบ้าง
       10.  เศษส่วน   
              การแบ่งนกในกรงในจำนวนที่เท่าๆกัน
       11.  การทำตามแบบหรือลวดลาย 
              สร้างแบบ และ ทำตามแบบ
       12.  การอนุรักษ์ที่คงที่ด้านปริมาณ 
              ดินน้ำมันก้อนเท่ากัน  นำมาปั้นสัตว์รูปต่างๆ
  
สมาชิก
นางสาวชุติภา สมบุญคุณ เลขที่ 2
นางสาวนิตยา มุกจันทร์ เลขที่ 17

หน่วย ผัก

1. การนับ = นับผักในตะกร้า
2. ตัวเลข = เรียงผักที่นับออกจากตะกร้า (ลำดับที่ 1,2,3,... ตามลำดับ)
3. จับคู๋ = จำนวนผัก กับเลขฮินดูอารบิก
4. จัดประเภท = แผกผักใบเขียว
5. การเปรียบเทียบ = จากขนาด ,รูปทรง ,จำนวน
6.  การจัดลำดับ = วัดผัก โดยการเปรียบเทียบ 1 : 1
7. รูปทรงและพื้นที่ = ตะกร้าสี่เหลี่ยม  ใส่แครอทได้กี่หัว?

วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 4 ในการเข้าชั้นเรียน

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2555

กิจกรรมในวันนี้
             
               - อาจารย์แจกกระดาษและให้นักศึกษาวาดรูปอะไรก็ได้ที่เป็นสัญลักษณ์ของตัวเองพร้อมเขียนชื่อจริงกำกับ แล้วให้คนที่มาก่อนเวลา 08.30 น.นำเอาบัตรภาพของตัวเองไปแปะบนกระดาน






               - อาจารย์อธิบายการแบ่งกลุ่มโดยใช้เวลาเป็นเกณฑ์และการจัดลำดับเพื่อนำไปใช้กับเด็ก โดยให้เด็กเห็นชัดเจน



               ขอบข่ายคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย
               นิตยา   ประพฤติกิจ.2541:17-19

1.  การนับ  (Counting)
2.  ตัวเลข  (Number)
3.  การจับคู่  (Matching)
4.  การจัดประเภท  (Classification)
5.  การเปรียบเทียบ  (Comparing)
6.  การจัดลำดับ  (Shape and space)
7.  รูปทรงและเนื้อที่  (Shape)
8.  การวัด  (Measurement)
9.  เซต  (Set)
10.  เศษส่วน  (Fraction)
11.  การทำตามแบบหรือลวดลาย  (Patterning)
12.  การอนุรักษณ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ  (Conservation)


            - อาจารย์ให้จับคู่ทำงานเกี่ยวกับการจัดทำแผนขอบข่ายคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 3 ในการเข้าชั้นเรียน

วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

  
        กิจกรรมในวันนี้
  • อาจารย์สุ่มถามความหมายคณิตศาสตร์ของนักศึกษาจากงานที่อาจารย์สั่งให้ไปค้นคว้าหนังสือที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
จับกลุ่มๆละ 3 คน ช่วยกันระดมความคิดภายในกลุ่ม ดังหัวข้อต่อไปนี้
       1. ความหมายของคณิตศาสตร์ 
       2. จุดมุ่งหมาย หรือ เป้าหมายการสอนคณิตศาสตร์       

       3. ทฤษฎี หรือ หลักการสอนคณิตศาสตร์       
       4. ขอบข่าย หรือ เนื้อหาหลักสูตรของคณิตศาสตร์
  • อาจารย์แจกกระดาษให้กลุ่มละ 1 แผ่น







 สมาชิกในกลุ่ม
นางสาวชุติภา สมบุญคุณ 5411201329   เลขที่ 2
   นางสาวพิชชา พรมกลิ้ง     5411201543     เลขที่ 7
นางสาวอิฏอาณิก เทพยศ   5411201618   เลขที่11
   นางสาวนิตยา มุกจันทร์       5411202731       เลขที่17

ความหมายของคณิตศาสตร์
               คณิตศาสตร์เป็นศาสตร์แห่งการคิดคำนวณที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันของคนและต้องใช้เสมอ การคิดคำนวณและการแก้ไขโจทย์ปัญหานั้น อย่ามุ่งเอาจริงเอาจังกับคำตอบ สามารถใช้เหตุผลในการกระทำของตนเองได้ ควรเน้นทักษะกระบวนการคิดในเด็ก คณิตศาสตร์เป็นทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่นำไปสู่การคิดคำนวณบวกและลบ

จุดมุ่งหมายของคณิตศาสตร์

1. รู้ถึงคุณค่าของคณิตศาสตร์
2. พัฒนาเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์
3. มีความรู้ความเข้าใจในคณิตศาสตร์พื้นฐาน
4. เป็นการกระตุ้นให้เกสนใจโลกรอบตัว
5. สร้างความคุ้นเคยกับตัวเลข การนับ การเพิ่ม และการลด
6. ทำให้เด็กรู้จักสังเกตค้นหา ทดลอง
7. สร้างเสริมความคิดเชิงตรรกะหรือเหตุผลจากการมีความสามารถในการใช้เหตุผลในการเปรียบเทียบการจัดประเภท เวลา ตำแหน่ง รูปทรง และขนาด

ทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์

                      การสอนคณิตศาสตร์ต้องเริ่มจากชีวิตจริงและสิ่งใกล้ตัว ฝึกให้นักเรียนคุ้นเคยกับคำต่างๆ และความหมาย ของทุกคำในโจทย์ ต้องให้ผู้เรียนเข้าใจมโนทัศน์ตรรกะคณิตศาสตร์ โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเข้าใจได้โดยอ่านโจทย์หลายๆครั้ง และวิเคราะห์โจทย์ปัญหาทั้งหมด คณิตศาสตร์เป็นเรื่องซับซ้อนมากกว่าภาษา ดังนั้นในการสอนตัวเลขสำหรับเก จึงมีบริบทการสอนเพื่อหาคำตอบของปัญหาได้ด้วยการ บวก ลบ คูณ หาร หรือยกกำลัง ซึ่งผู้สอนจะฝึกให้นักเรียนเป็นผู้ที่คิดวิธีการทำได้ด้วยตัวเอง

ขอบข่ายของคณิตศาสตร์

               เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวันให้เด็ก โดยการเรียนรู้เกี่ยวกับสัญลักษณ์ ตัวเลข จำนวน การอ่านคำ การนับ การบวก การเปรียบเทียบ และการบอกเหตุผล



                        อ้างอิงจากหนังสือ

เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา, สุวร กาญจนมยูร,2538:2, เลขหมู่หนังสือ 510.7
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเดฝ้กปฐมวัย,ดร.กุลยา ตันติผลาชีวะ,25533:154-164,เลขหมู่หนังสือ 372.21 ก728ก ฉ.4
  • อาจารย์ประเมินในงานที่สั่งทำทั้งงานเดี่ยวและงานกลุ่ม แนะนำและปรับปรุงในงานชิ้นต่อๆไป
  • จากการเรียนวันนี้ได้ทักษะ
  • การสรุปความ
  • การค้นหา
กิจกรรมเพลง
  • เรียกเด็กเข้ากลุ่ม








วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 2 ในการเข้าชั้นเรียน

วันที่ 8 พฤศจิกายน 2555

   กิจกรรมในวันนี้

  • อาจารย์ได้ให้นักศึกษาลองมองรอบๆตัวว่าอะไรเป็นคณิตศาสตร์บ้าง โดยให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น เช่น ประตู หน้าต่าง น้ำหนัก ส่วนสูง ฯลฯ สิ่งต่างๆเหล่านี้ที่นักศึกษาร่วมกันแสดงความคิดเห็นนั้นจัดอยูในรูปของสิ่งต่อไปนี้:
    • รูปร่าง
    • รูปทรง
    • การวัด
    • จำนวน
    • การเปรียบเทียบ
การเปรียบเทียบ การเปรียบเทียบขนาดเพื่อทำให้เด็กรู้ถึง สั้น, ยาว, ใหญ่, เล็ก, เท่ากัน, ไม่เท่ากัน จะต้องอาศัยในการคำนวณ
          การคำนวณของเด็กเล็กจะต้องมีการวางสิ่งของหรือวัสดุสื่อที่ใช้ในการสอนให้เห็น มีแบบให้ดูเพื่อให้เด็กเห็นว่าอันนี้สั้นกว่า ยาวกว่า ใหญ่กว่า เล็กกว่า
รูปร่าง-รูปทรง-การวัด เป็นเรื่องของความกว้าง ความยาว การชั่งน้ำหนักหรือการกะประมาณ
จำนวน ยกตัวอย่างได้แก่เงิน ในคณิตศาสตร์เมื่อเรารู้จำนวนแล้ว นำไปสู่การรู้ค่า เมื่อรู้ค่าแล้วก็นำไปสู่การแทนเป็นตัวเลขในคณิตศาสตร์


การจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก




         
   

อาจารย์มอบหมายงาน 

           วันนี้อาจารย์ปล่อยให้นักศึกษาไปห้องวิทยบริการเพื่อไปค้นหาหนังสือที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ โดยสิ่งที่อาจารย์ให้ไปค้นคว้า ได้แก่
  1. หาหนังสือเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ บอก ชื่อหนังสือ ผู้เขียน ปีที่พิมพ์ เลขหมู่หนังสือ และเลือกมา 1 เล่ม  
  2. ความหมายของคณิตศาสตร์
  3. ทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์
  4. ขอบข่าย
หมายเหตุ : ส่งวันที่ 15 พฤศจิกายน 2555
หม้เเด้ะด่

วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 1 ในการเข้าชั้นเรียน

วันที่ 1 พฤศจิกายน 2555

กิจกรรมในวันนี้

         อาจารย์และนักศึกษาร่วมกันสร้างข้อตกลงข้อตกลงในการเข้าเรียน


     - เข้าเรียนเวลา 9:00 นาฬิกา มาช้า 15 นาทีถือว่า ขาดเรียน
     - เครื่องแต่งกายต้องแต่งให้ถูกตามระเบียบ แต่งให้เรียบร้อย

          อาจารย์แจกกระดาษ A4 ให้นักศึกษาคนละ 1 แผ่น อาจารย์ได้ถามคำมดังต่อไปนี้ แล้วให้นักศึกษาตอบมาแค่ 2 ประโยค

คำถามที่ 1  คณิตศาสตร์ คือ อะไร?

ตอบ  1. การรู้จักตัวเลขและนับเลขได้

      2. ได้รู้จักรูปร่างของเลขาคณิต

คำถามที่ 2 ในการเรียนวิชานี้คาดว่าได้อะไร?

ตอบ  1. ได้รู้จักการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์

      2. ได้รู้จักสื่อการสอนคณิตศาสตร์

      การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย มีคำสำคัญอยู่ 3 คำ

  1. การจัประสบการณ์
  2. คณิตศาสตร์  
  3. เด็กปฐมวัย



       พัฒนาการ คือ การเจริญเติบโตหรือการเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง เช่น การพลิกตัว คว่ำ คืบ คลาน นั่ง ยืน เดิน วิ่ง
       การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

    การเรียนรู้เกิดขึ้นได้นั้น
  1. เกิดจากการที่เรามีประสบการณ์
  2. ลงมือกระทำโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
เรียนรู้ไปเพื่ออะไร
  1. พัฒนาตนเองไปในทางที่ดี
  2. เพื่อให้ตัวเองใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข